ข้อมูลทางการแพทย์ชี้ให้เห็นตรงกันถึงความเชื่อมโยงของปัญหาจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ แม้จะดื่มในปริมาณไม่มากแต่ดื่มบ่อยครั้งยิ่งดื่มในปริมาณที่เพิ่มขึ้นทุกวัน จะมีผลที่ตามมาต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น หัวใจ สมอง ระบบประสาท กระเพาะอาหาร และตับ ตามมาด้วยสุขภาวะทางอารมณ์แปรเปลี่ยนไปจากพฤติกรรมเดิม ๆ นั่นคือฤทธิ์ของแอลกอฮอล์เข้าไปกดการทำงานของสมอง หากดื่มมาก ๆ เข้า จะทำให้ความจำเสื่อม การตัดสินใจไม่-เหมาะสม สมาธิเสีย อารมณ์เปลี่ยน การพูดจะช้าลง สายตาพร่ามัวและเสียการทรงตัว       

          มากไปกว่านั้น นักดื่มที่ติดแอลกอฮอล์หนัก สมองไม่ได้ใจดีแบบที่คิด เพราะถ้าสมองเสียหายเมื่อใด อาจนำไปสู่ภาวะสมองฝ่อ เกล็ดเลือดต่ำ ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (สโตรก) เสี่ยงพิการ และถึงตายได้

ระยะเวลากับการตัดสินใจ

          มนุษย์โดยเฉลี่ยใช้เวลาประมาณ 0.75 วินาทีก่อนจะเบรกรถอย่างมีประสิทธิภาพ ระยะเวลาที่เสียไปนี้ เรียกว่า

“ ระยะเวลาของปฏิกิริยาตอบสนอง ”   ความช้าเร็วจะแปรผันตามบุคคลและความเร็วรถ ร่างกายหรือสมองที่เหนื่อยล้าอ่อนเพลียเกินไป หรือ มึนเมาจากกฤทธิ์ยาหรือแอลกอฮอล์ จะทำให้ประสิทธิภาพใน การตอบสนองเสียไปจึงไม่ควรขับรถ ไม่ว่ารถจะมีประสิทธิภาพดีเพียงใด

 

🚗 ขับเร็ว ทำให้ “ ไม่เห็นข้างทาง ” จะส่งผลอะไร ?

           ลานสายตาปกติ สามารถมองได้กว้างถึง 180 องศา โดยมีมุมมองรับรู้ตื่นตัวที่ 20-30 องศา และมีเพียง 2-4 องศาที่มองเห็นชัดเจน ที่เรียกว่า “Focal point” เมื่อขับเร็วขึ้นมุมมองจะเริ่มแคบลง ทำให้ยิ่งมองไม่เห็นด้านข้าง หากเกิดเหตุกระชั้นชิตคุณอาจตัดสินใจไม่ทัน ยิ่งอันตราย การเหยียบเบรกเพื่อหยุดรถ จะมี 2 ระยะที่สำคัญคือ

    1. ระยะตัดสินใจ (reaction time)คือ ระยะที่สายตามองเห็น + สมองตัดสินใจ + เท้าแตะเบรก โดยปกติจะใช้เวลารวมกัน1.5-2.5 วินาที ที่จะหยุดอุบัติเหตุ

    2. ระยะเบรก (Braking) คือ ระยะเมื่อเท้าเหยียบเบรค ไปจนกระทั่งรถหยุด “ความเร็ว” ที่ต่างกัน จะส่งผลต่อระยะเบรกต่างกัน เช่น ที่ความเร็ว 50 km/h จะมีระยะทางในการหยุดรถ 27 เมตร (ระยะตัดสินใจ 14 เมตร + ระยะเบรก 13 เมตร)

👁

 


19/12/2566

แชร์

 

บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) ใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ หากท่านปฏิเสธคุกกี้ หรือยังคงใช้งานเว็บไซต์ต่อไป บริษัทฯจะยังคงเก็บคุกกี้ ที่มีความจำเป็นต่อการใช้งานเว็บไซต์ของท่านเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม

ปฏิเสธ ยอมรับ