ยุงกัดอาจไม่ได้เสี่ยงเเค่ไข้เลือดออก!

ยุงเป็นแมลงขนาดเล็ก มีวงจรชีวิตที่ไม่นานแต่มีมากกว่าสามพันชนิดและยังสามารถวางไข่ได้มากถึง 50-150 ฟองต่อครั้งตลอดชีวิตของมัน จึงไม่แปลกที่เราจะพบเจอยุงได้อยู่เกือบทุกเวลาและพบเจอได้แทบจะทุกสถานที่ ซึ่งยุงถือเป็นพาหะนำโรคร้ายมาสู่คนได้หลายชนิดจากการถูกกัดเพียงแค่ 1 ครั้ง ยกตัวอย่างเช่น

โรคติดเชื้อไวรัสเดงกี หรือไข้เลือดออก (Dengue Hemorrhagic Fever-DHF)

เป็นโรคจากยุงที่ทุกคนรู้จักกันดีและมีความอันตรายถึงชีวิตโดยมีพาหะเป็นยุงลาย ที่ออกหากินในตอนกลางวัน (อาจจะพบได้ในช่วงเย็นหรือตอนกลางคืน) ซึ่งยุงลายยังสามารถเป็นพาหะของโรค ไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ ชิคุนกุนย่า และ ไข้ไวรัสซิกา ได้อีกด้วย ซึ่งจะมีอาการคล้ายกับไข้เลือดออก

โรคไข้มาลาเรีย (Malaria)

สาเหตุมาจากยุงก้นปล่อง พบมากในพื้นที่ป่า พื้นที่รก ตามแหล่งน้ำ หรือพื้นที่ที่ร้อนชื้น

 

ไข้สมองอักเสบ เจ อี

พบมากในนาข้าวโดนมียุงรำคาญเป็นพาหะนำโรค โดยเป็นการถ่ายทอดกันอยู่ในระหว่างสัตว์ เมื่อถูกยุงรำคาญกัด เชื้อที่อยู่ในเลือดของสัตว์จะเจริญแพร่พันธุ์ในตัวยุง เมื่อยุงกัดผู้ใดก็จะแพร่เชื้อเข้าสู่ผู้ที่ถูกกัด โดยมีหมูเป็นรังเพาะเชื้อโรค

 

วิธีการป้องกันโรคที่เกิดจากยุงง่ายๆที่สามารถทำเองได้ ที่ควรปฎิบัติถ้าไม่อยากป่วยจากยุง

1. สวมเสื้อผ้าที่ปกปิดร่างกายให้มิดชิด

2. นอนกางมุ้ง โดยเฉพาะเวลาค้างแรมในป่า

3. ทาหรือจุดยากันยุงป้องกัน

4. ควรสังเกตและคอยทำลายจุดน้ำขังภายในบริเวณบ้าน เพื่อไม่ให้ยุงมีที่ในการเพาะพันธุ์

5. ฉีดวัคซีนป้องกันโรค โรคไข้เลือดออก ไข้เหลือง ไข้สมองอักเสบเจอี เป็นต้น

 

ถึงแม้จะป้องกันแล้วแต่เรายังคงมีความเสี่ยงต่อโรคร้ายจากยุงอยู่ดี การมีประกันที่ดูแลความเสี่ยงให้เราได้ก็เป็นอีกหนึ่งทางที่ดีที่จะครอบคลุมความเสี่ยงให้รอบด้านมากยิ่งขึ้น เพราะเราไม่สามารถรู้ได้ว่าเราจะป่วยเป็นโรคจากยุงตอนไหน

 

ประกันยุง เบี้ยเริ่ม 100บาท/ปี คลิก

 

 

 

ที่มา : โรงพยาบาลกรุงเทพ,โรงพยาบาลพญาไท 2, โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล


02/11/2566

แชร์

 

บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) ใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ หากท่านปฏิเสธคุกกี้ หรือยังคงใช้งานเว็บไซต์ต่อไป บริษัทฯจะยังคงเก็บคุกกี้ ที่มีความจำเป็นต่อการใช้งานเว็บไซต์ของท่านเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม

ปฏิเสธ ยอมรับ